|
| - โครงการวิจัย (ภาษาไทย) :
การจัดการดูแลสวนกล้วยไม้แนวตั้งเชิงธุรกิจด้วยระบบอัจฉริยะ
(ภาษาอังกฤษ) : "Smart
vertical orchid garden management by Intelligence system."
-
หัวหน้าโครงการวิจัย
ชื่อ-สกุล : อาจารย์ ดร. ประนอม ยังคำมั่น
-
หน่วยงาน ที่อยู่ที่ติดต่อได้พร้อมโทรศัพท์และโทรสาร : สาขาวิชาพืชสวน
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต.หนองหาร
อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์ 0-5387-3652
-
ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำวิจัย
เนื่องจากปัจจุบันผู้คนโดยเฉพาะพื้นที่ในเมืองมีความต้องการที่จะได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติเพื่อความผ่อนคลายในระหว่างการทำงานในสำนักงาน
การพักผ่อนอยู่กับครอบครัวที่บ้าน หรือออกไปท่องเที่ยวต่างจังหวัด
สิ่งที่หลีกหนีความต้องการไม่พ้นคือการได้อยู่กับธรรมชาติที่สวยงาม ความสงบ
ความร่มรื่นและสบายใจ
ดังนั้นการจัดสวนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนให้มีความสุขในปัจจุบัน
ก่อนหน้านี้การจัดสวนส่วนมากจะเน้นรูปแบบแนวราบเนื่องจากมีพื้นที่เพียงพอ แต่ ณ
ปัจจุบัน มีความจำกัดในด้านพื้นที่มาก
ดังนั้นแนวทางการจัดสวนจึงเน้นการจัดในแนวตั้งเพื่อให้เกิดความสวยงามโดยไม่ต้องเปลืองพื้นที่ใช้สอย
ซึ่งการจัดสวนแนวตั้งนี้สามารถทำได้ทุกพื้นที่ทั้งในและนอกอาคาร
รวมทั้งสถานที่ต่างในปัจจุบัน เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม รีสอร์ท บ้านพัก
คอนโดมิเนียม ร้านอาหาร ร้านกาแฟ เป็นต้น
เพื่อต้องการที่จะนำธรรมชาติเข้ามาไว้ให้ใกล้ชิดกับคนมากที่สุดและเป็นจุดดึงดูดลูกค้าให้เกิดความรู้สึกได้พักผ่อนอยู่กับธรรมชาติ
การจัดสวนแนวตั้งเริ่มเป็นที่นิยมในไทยมาไม่นานทำให้ยังมีสิ่งที่ต้องพัฒนาต่อไปเพื่อให้มีการจัดการดูแลที่เหมาะสมและมีอายุการใช้งานของสวนที่มาจากงานวิจัยของ
ฐานิศและคณะ
(มปป)
กล่าวว่าผู้บริโภคมีความสนใจในการใช้บริการจัดสวนแนวตั้งแต่กังวลเรื่อง
การดูแลต้นไม้ อยากให้มีการบริการหลังการขาย
เนื่องจากลูกค้าไม่มีเวลาและไม่ความความรู้ในการดูแลสวนแนวตั้ง
ดังนั้นการนำระบบอัจฉริยะมาใช้ในการควบคุมดูแลสวนหลังการติดตั้งไปแล้วจึงมีความสำคัญ
เนื่องจากเป็นการจัดการดูแลสวนให้ลูกค้ามีความสะดวกสบาย มีความมั่นใจในการใช้บริการ
รวมทั้งยังเป็นการสะดวกต่อการให้บริการหลังการขายของผู้ให้บริการจัดสวนที่สามารถทราบข้อมูลความเคลื่อนไหวต่างๆของสภาพการปลูกเลี้ยงพืช
เช่น ความเข้มแสง อุณหภูมิ ความชื้นในอากาศและในวัสดุปลูก ค่าความเป็นกรดด่าง (pH)
ค่า EC ของสารละลายที่ให้แก่พืช
โดยใช้หลักการทำงานระบบ
Monitor control and Data logger
แบ่งเป็นส่วนการทำงานดังนี้
ส่วนที่
1
วางระบบการให้น้ำและปุ๋ยแก่พืชด้วยระบบการควบคุมอัตโนมัติ
ส่วนที่
2
การติดตั้งเซนเซอร์ต่างๆเพื่อวัดค่าที่ต้องการบันทึก เช่น ความเข้มแสง อุณหภูมิ
ความชื้นในอากาศและในวัสดุปลูก ค่าความเป็นกรดด่าง(pH)
ค่า EC
ของสารละลายที่ให้แก่พืช เป็นต้น ส่วนที่ 3
จัดเก็บข้อมูลค่าต่างๆที่บันทึกและมีการสรุปรายงานผลในรูปแบบตารางหรือกราฟ ส่วนที่
4 ระบบเตือน Alert ในกรณีค่าที่ตรวจวัดสูง หรือ ต่ำ กว่าค่าที่กำหนด
ให้เฝ้าระวังผ่านทางเครื่องมือสื่อสารที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น Smart phone
เป็นต้น ซึ่งการแจ้งเตือนนี้จะช่วยให้ผู้บริการจัดสวนมีการแก้ปัญหาที่เร็วและตรงจุด
นอกจากนี้ยังสามารถนำข้อมูลที่บันทึกไว้มาวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาระบบการจัดการดูแลพืชให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น
เพื่อการจัดการดูแลสวนที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องระบบการให้น้ำ ปุ๋ย
และแสงที่เหมาะสมแก่พืชต่อไป
กล้วยไม้หวายจะเป็นพืชต้นแบบที่นำมาใช้เพื่อศึกษาระบบการเจริญในอาคารเนื่องจากเป็นไม้ดอกเศรษฐกิจของประเทศที่ปลูกเพื่อตัดดอกและไม้กระถางสำหรับขายทั้งในและส่งจำหน่ายต่างประเทศ
ส่วนมากไม้ที่ใช้ในการจัดสวนแนวตั้งจะเป็นไม้ใบประดับในอาคารส่วนมาก
ส่วนการนำไม้ดอกมาใช้ค่อนข้างน้อย
เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องของแสงที่ไม่เพียงพอต่อการเจริญและการออกดอกของพืช
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงคาดหวังว่าการนำกล้วยไม้มาใช้เพื่อการจัดสวนในอาคารจะสามารถเพิ่มทางเลือกในการนำไม้ดอกมาใช้
ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เลือกกล้วยไม้สกุลหวายมาทำการปลูกเพื่อศึกษา
เนื่องจากเป็นไม้ที่ต้องการแสงที่ไม่มาก คือประมาณ
50% สามารถปลูกทนต่อสภาพการปลูกในอาคารได้ค่อนข้างนานประมาณ
2-3 เดือนในกรณีสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
แต่จะไม่มีการออกดอกต่อเนื่องได้ (ครรชิต, 2550) ดังนั้น
จึงคาดหวังว่าการให้แสงเพิ่มโดยใช้หลอดไฟส่องสว่างจะช่วยให้กล้วยไม้ออกดอกได้ต่อเนื่อง
นอกจากนี้กล้วยไม้หวายออกดอกง่ายไม่จำเป็นต้องกระตุ้นด้วยอุณหภูมิต่ำเพื่อการออกดอกและมีข้อมูลการปลูกเลี้ยงดูแลที่เพียงพอและชัดเจนแล้วในสภาพโรงเรือนปลูก
ดังนั้นจึงคาดว่าการนำข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่แล้วนั้นมาเป็นตัวกำหนดช่วงปัจจัยต่างๆที่พืชต้องการมาควบคุมระหว่างการปลูกเลี้ยงจะเป็นการจัดการที่ง่าย
ไม่ต้องศึกษาเพิ่มเติมในด้านปัจจัยปลูกเลี้ยง
แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษาการเจริญและอายุการใช้งานกล้วยไม้หวายในสภาพปลูกเลี้ยงในอาคารและยังไม่มีข้อมูลการปลูกเลี้ยงในรูปแบบการจัดสวนแนวตั้ง
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงต้องการที่จะหาความชัดเจนในการเจริญและอายุการใช้งานของกล้วยไม้หวายเมื่อนำมาจัดสวนแนวตั้งในอาคาร
ภายใต้การจัดระบบควบคุมการให้น้ำ ปุ๋ย และแสง อัตโนมัติด้วยระบบ Monitor
control and Data logger
-
วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาต้นแบบในการนำเทคโนโลยีระบบอัจฉริยะมาใช้ในการจัดการดูแลสวนกล้วยไม้แนวตั้งที่มีประสิทธิภาพในเชิงธุรกิจ
- สถานที่ดำเนินโครงการ
สาขาพืชสวนประดับและอาคารพืชศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผลิตกรรมการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
|
|
- ประมวลภาพกิจกรรมการดำเนินงาน
|
|
| |
|
|
|